หัวข้อ   “ ที่สุดแห่งปี 2554 ”
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็น
ประชาชนเรื่อง “ที่สุดแห่งปี 2554”  โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศที่มีอายุ
18 ปีขึ้นไป ในทุกสาขาอาชีพ  ด้วยคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบคิดคำตอบเองโดยไม่มีข้อ
คำตอบให้เลือกจำนวน 9 ข้อคำถาม เมื่อวันที่ 21 - 25 ธันวาคม ที่ผ่านมา ได้จำนวนกลุ่ม
ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,113 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.3  และเพศหญิงร้อยละ 50.7 สรุปผล
ได้ดังนี้
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ข่าว หรือ เหตุการณ์ในรอบปี 2554 ที่สร้างความสุขใจมากที่สุด

 
ร้อยละ
อันดับ 1 ข่าวเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
( ได้แก่ ข่าวการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา
   ครบ 84 พรรษาและ ข่าวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   ทรงหายประชวร )
55.1
อันดับ 2 ข่าวการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการฟื้นฟูน้ำท่วม
           ตลอดจนน้ำใจคนไทยที่ช่วยเหลือกันในช่วงวิกฤติน้ำท่วม
22.7
อันดับ 3 ข่าวการได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย
9.2
 
 
             2. ข่าว หรือ เหตุการณ์ในรอบปี 2554 ที่สร้างความทุกข์ใจมากที่สุด

 
ร้อยละ
อันดับ 1 ข่าวเหตุการณ์น้ำท่วม และความเสียหายที่เกิดขึ้น
87.4
อันดับ 2 ข่าวการวางระเบิดใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
1.9
อันดับ 3 ข่าวความขัดแย้งกันของคนไทยในสังคม
1.5
 
 
             3. ข่าวที่สนใจและติดตามชมมากที่สุดในรอบปี 2554

 
ร้อยละ
อันดับ 1 ข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วม ตลอดจนแนวทางแก้ไข
            และฟื้นฟูผู้ประสบภัย
68.1
อันดับ 2 ข่าวเหตุการณ์ทางการเมือง
11.8
อันดับ 3 ข่าวการประชวรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3.8
 
 
             4. หน่วยงาน / กลุ่มบุคคลในสังคมไทยที่น่าชื่นชมยกย่องมากที่สุดในรอบปี 2554

 
ร้อยละ
อันดับ 1 เหล่าทหารที่ออกมาช่วยเหลือประชาชนในช่วงน้ำท่วม
47.2
อันดับ 2 ประชาชนผู้มีจิตอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
14.2
อันดับ 3 สื่อมวลชน
12.2
 
 
             5. หน่วยงาน / กลุ่มบุคคลในสังคมไทยที่น่าผิดหวังมากที่สุดในรอบปี 2554

 
ร้อยละ
อันดับ 1 รัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
31.5
อันดับ 2 นักการเมืองไทย
19.9
อันดับ 3 ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)
8.6
อันดับ 3 ฝ่ายค้าน
8.6
 
 
             6. ประเภทกีฬาที่มีผลงานโดดเด่นและน่ายกย่องมากที่สุดในรอบปี 2554

 
ร้อยละ
อันดับ 1 กีฬาวอลเลย์บอล
31.6
อันดับ 2 กีฬาชกมวย ทั้งมวยสากล และมวยไทย (Thai Fight)
23.5
อันดับ 3 กีฬาฟุตบอล
12.1
 
 
             7. ประเภทกีฬาที่มีผลงานยอดแย่มากที่สุดในรอบปี 2554

 
ร้อยละ
อันดับ 1 กีฬาฟุตบอลทีมชาย
85.5
อันดับ 2 กีฬาชกมวยสากล
3.0
อันดับ 3 กีฬาว่ายน้ำ
1.9
 
 
             8. นักการเมืองของไทยที่ชื่นชอบมากที่สุดในรอบปี 2554

 
ร้อยละ
อันดับ 1 น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
42.1
อันดับ 2 นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
28.3
อันดับ 3 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์
11.5
 
 
             9. ของขวัญปีใหม่ที่อยากได้จากรัฐบาลมากที่สุด

 
ร้อยละ
อันดับ 1 อยากให้รัฐบาลทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ลดค่าครองชีพ
            และลดราคาสินค้าลง
18.2
อันดับ 2 อยากให้รัฐบาลมีความจริงใจในการบริหารงาน ไม่ให้มีการ
           ทุจริตคอร์รัปชั่น และทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้
15.4
อันดับ 3 อยากให้รัฐบาลฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมอย่าง
           เต็มที่ และหาวิธีป้องกันปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน
13.6
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนจากทั่วประเทศ เกี่ยวกับเรื่องที่สุดแห่งปี 2554 ในด้านต่างๆ เพื่อชี้
ให้เห็นถึงเรื่องและเหตุการณ์ต่างๆในสังคมไทยที่เกิดขึ้นตลอดปี 2554 ซึ่งอยู่ในความสนใจของประชาชน รวมถึงเพื่อสะท้อน
มุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนจากทั่วประเทศที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย
ขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) สำหรับในกรุงเทพมหานครได้ทำการสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน
จำนวนทั้งสิ้น 17 เขตได้แก่ เขตคลองสามวา ดินแดง ดุสิตตลิ่งชัน บางเขน บางซื่อ บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน พญาไท พระนคร
ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง สาทร และหนองจอก ส่วนจังหวัดที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาค ได้แก่ ขอนแก่น
เชียงใหม่ นครราชสีมา นนทบุรี ปทุมธานี พะเยา สงขลา และสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะ
สัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,113 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.3 และเพศหญิงร้อยละ 50.7
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ด้วยข้อคำถามปลายเปิด (Open Form) ในส่วนของความคิดเห็นตามประเด็นที่สำรวจ  จากนั้นคณะ
นักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  21 - 25 ธันวาคม 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 ธันวาคม 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
549
49.3
             หญิง
564
50.7
รวม
1,113
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
278
25.0
             26 – 30 ปี
292
26.2
             36 – 45 ปี
260
23.4
             46 ปีขึ้นไป
283
25.4
รวม
1,113
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
663
59.6
             ปริญญาตรี
392
35.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
58
5.2
รวม
1,113
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
135
12.2
             พนักงานบริษัทเอกชน
295
26.4
             ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
283
25.4
             รับจ้างทั่วไป
184
16.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
58
5.2
             เกษตรกร
33
3.0
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
125
11.2
รวม
1,113
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776